หัวข้อในการทำผลงาน

การใช้ google classroom ในการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ไม่มีเวลามาพบกลุ่ม

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 ในมาตรา 22 กล่าวว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) จากสาระตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าสื่อการเรียนการสอนประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนถืออีกเป็นปัจจัยที่หนึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เนื่องจากมีคุณสมบัติในการนำเสนอสื่อได้อย่างหลากหลายทางทางคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนโดยการนำเอาคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อในการเรียนการสอนหรือที่เรียกว่า CAI นั้นมีรูปแบบการนำเสนอในลักษณะของสื่อประสมได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์และเสียง ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนโดยให้ผลย้อนกลับทันที มีการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะหรือการเรียนรู้ในเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งตรงตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีโปรแกรมและ 
Application สำหรับใช้ในการพัฒนาสื่อการสอนมากมาย แต่โปรแกรมเหล่านั้นล้วนมีข้อจำกัดในเรื่องของลิขสิทธ์ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง ตัวโปรแกรมมีเครื่องมือและการใช้ง่านค่อนข้างยุ่งยาก ผู้ใช้งานต้องมีความรู้หรือฝึกอบรมจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป และหลาย ๆ โปรแกรมมีฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันทำให้ยากต่อการนำฟังก์ชั่นต่างๆมาบูรณาการให้ใช้งานร่วมกันได้ในที่เดียวกันเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน 

ปัจจุบัน Google มีการพัฒนา Application ที่เรียกว่า Google Apps for Education มีการพัฒนาจนก้าวหน้าและมีแอพพลิเคชันมากมายหลายชนิดให้ผู้ใช้ได้ติดตั้งบน Web browser เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นการสร้างห้องเรียนออนไลน์ด้วย Google Classroom การสร้างบทเรียนออนไลน์หรือเว็บไซต์ด้วย Google Sites การสร้างแบบทดสอบด้วย Google From การใช้งานเอกสารด้วย Google Sheets รวมถึงการพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับ Mobile Phone และ Tablet เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนได้ตลอดเวลาเช่นกัน ซึ่ง Application เหล่านี้สามารถใช้บริการได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีความสะดวกและใช้งานง่ายโดยทุกๆ Application สามารถนำมาบูรณาการใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีผู้วิจัยหลายท่านได้วิจัยในหัวข้อการนำ Google Application มาใช้ในการศึกษาเช่น เรื่องการพัฒนาแนวทางการใช้ Google Application for Education กับการเรียนการสอนในรายวิชา (เกษม,2556) ซึ่งผลการวิจัยทำให้ได้แนวทางสำหรับอาจารย์ผู้สอนในการใช้งาน Google ได้เป็นอย่างดี

ผู้วิจัยจึงคิดที่จะพัฒนาบทเรียนออนไลน์ให้กับครู นักศึกษา ที่สนใจในการนำไปพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมของ Google Application มาประยุกต์สร้างขึ้นเป็นบทเรียนเพื่อลดปัญหาด้านลิขสิทธ์ เกิดความง่ายต่อการพัฒนา และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อครู นักศึกษาและผู้สนใจต่อไป



2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย Google Application
2.2 เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น
2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น

3. ขอบเขตของการวิจัย
3.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1.1ประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน คัดเลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง
3.2ขอบเขตด้านเนื้อหา

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 2เรื่องได้แก่ การสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย Google site และการสร้างแบบทดสอบด้วย Google From

3.3 เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย

3.3.1 บทเรียนออนไลน์ เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย Google Application

3.3.2แบบวัดประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย Google Application

3.3.3แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย Google Application




4. วิธีดำเนินการวิจัย

4.1 ศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูล โดยศึกษาเนื้อหา วัตถุประสงค กิจกรรมการเรียนศึกษาการใช้งานการสร้างบทเรียนด้วย Google site การสร้างแบบทดสอบด้วย Google Formและ ศึกษาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างบทเรียนออนไลน์ได้กรอบแนวคิดงานวิจัยดังนี้

บทเรียนออนไลน์

ผู้เรียน
สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์

ประสิทธิภาพของบทเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผู้เรียน

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย


4.2 กำหนดแบบแผนการทดลอง โดยแบบแผนของการวิจัยในครั้งนี้ เปนกลุมเดียวกัน สอบกอนเรียนและสอบหลังเรียน

4.3 กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษา กศน. ...................................... จำนวน .......... คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

4.4 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วนได้แก่

ส่วนที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย Google Applicationโดยใช้ Google Form เป็นเครื่องมือในการสร้าง

พัฒนาบทเรียน
โดยส่วนเนื้อหาด้วย blogspot

ส่วนข้อสอบด้วย
Google Form

ส่วนที่ 2 บทเรียนโดยขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ใช้แนวทางการออกแบบบทเรียนตามกระบวนการ ADDIE Model(มนต์ชัย,2554) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบ 3)การพัฒนา 4)การทดลองใช้ 5)การประเมินผลโดยลักษณะของบทเรียนออนไลน์ ดังภาพที่ 2





1.สำรวจการใช้สมาร์ทโฟนของนักศึกษา กศน.อำเภอระโนด
2.ทดสอบระบบโดยใช้วิธีการสอบโดยใช้แบบทดสอบออนไลน์  ซึ่งให้ครู เป็นผู้ทำแบบทดสอบ สาเหตุที่ต้องการให้ครูเป็นผู้ทดสอบก่อน เพื่อให้ครูได้ลองปฏิบัติ เพื่อนำข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไข และต้องการให้ครูนำไปทดสอบกับนักศึกษาได้เพื่อจะได้นำแบบทดสอบ
3.ผู้วิจัย กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผู้วิจัยรับผิดชอบการจัดการเรียนสอนร่วมกับครูจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม นักศึกษา กศน.ตำบล....... จำนวน......คน และ กลุ่มนักศึกษา กศน.ตำบล........จำนวน......คน สอนโดยวิธีการพบกลุ่มและใช้google classroom เก็บคะแนนจากแบบทดสอบออนไลน์ สอบถาวมความพึงพอใจในการสอนครั้งที่ 1 ครั้งที่ 9 และครั้งที่ 18 เพื่อนำมาเปรียบเทียบคาวมพึงพอใจและนำข้อเสนอะแนะมาพัฒนาในการสอนในภาคเรียนหน้าต่อไป

ขั้นตอนการขอวิทยฐานะชำนาญการ




2. การยื่นคำขอ

บันทึกข้อความขอวิทยฐานะ ชำนาญการ
1. หนังสือนำส่ง (ขอที่สถานศึกษา)
2. สำเนา ก.พ. 7 จำนวน 1 ฉบับ (ขอที่เขตพื้นที่การศึกษา ในที่นี้ คือ สำนักงาน กศน.จังหวัด...)
3. แบบ ก.ค.ศ. 1 , ก.ค.ศ. 2  และ ก.ค.ศ. 3  (ทำ 4 ชุด  ส่งเขต 1 ชุด อีก 3 ชุด เอาไว้ที่โรงเรียนให้กรรมการประเมิน)

3. อ.ก.ค.ศ. ตั้งกรรมการ 1 คณะ ประเมินทั้ง 3 ด้าน


ด้านที่ 1 ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. 4   สรุปลงแบบ ก.ค.ศ. 5


ด้านที่ 2 ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. 6/1.1 นำมาลงแบบ ก.ค.ศ. 7/1 สรุปลงแบบ ก.ค.ศ. 8/1

(เฉพาะสาขาปฐมวัย ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. 6/1.2 นำมาลงแบบ ก.ค.ศ. 8/1)

ด้านที่ 3 ประเมินตามแบบ  ก.ค.ศ. 11/1.1    ก.ค.ศ. 14/1.1 

(เฉพาะสาขาปฐมวัย ประเมินตามแบบ ก.ค.ศ. 14/1.2)

แล้วนำผลด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 มาสรุปลงในแบบ ก.ค.ศ. 15/1


* แบบประเมินที่ต้องส่งเขต (สำนักงาน กศน.จังหวัด..) คือ แบบ ก.ค.ศ. 5 , แบบ ก.ค.ศ. 8/1 และ แบบ ก.ค.ศ. 15/1  นอกจากนี้เก็บไว้เป็นหลักฐานที่สถานศึกษา *




หลักเกณฑ์ และวิธีการใหข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชํานาญการ


หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สายงานการสอน
(ตามหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.4/ว 17 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552)


หลักเกณฑ์
และวิธีการใหขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชํานาญการ


หลักเกณฑ์

1. ผู้ขอมีวิทยฐานะครูชํานาญการ ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

1.1 ดํารงตําแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปีสําหรับผู้ มีวุฒิปริญญาตรี

4 ปีสําหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท
และ2 ปีสําหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก นับถึงวันที่ยื่นคําขอ หรือดํารงตําแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า

1.2 มีภาระงานสอนไม่ต่ํากว่าภาระงานขั้นต่ําตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกําหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ.

1.3 ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคําขอ

2. ผู้ขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ พิจารณาจากข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7)
ส่วนที่ 2 คํารบรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา
ส่วนที่ 3 เอกสารหลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ พิจารณาจากการพัฒนางานในหน้าที่และการพัฒนาตนเอง ดังนี้

ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
พิจารณาจาก หลักสูตรแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรม แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร

ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ 
พิจารณาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการทดสอบความรู้จากหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ.ให้การรับรองการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ

ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน พิจารณาจาก ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ โดยคํานึงถึงปริมาณ คุณภาพและสภาพของงานด้วย

3. การประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐานรวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา ส่วนด้านที่ 3 ให้ประเมินจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอโดยอาจประเมินจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา หรืออาจให้ผู้ขอรับการประเมินนําเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้ทั้งนี้ให้คณะกรรมการบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ในแบบประเมินด้วย

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 ให้มีคณะกรรมการประเมิน 3 คน ประเมินพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน และให้ดําเนินการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ได้รับคําขอจากสถานศึกษา

5. เกณฑ์การตัดสินผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้

5.1 ด้านที่ 1 ด้านวินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 65

5.2 ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 65

5.3 ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 65

กรณีคณะกรรมการประเมินดานที่ 1 ด้านที่ 2 และดานที่ 3 มีความเห็นว่า ผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้พัฒนาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

6. การพิจารณาอนุมัติผลการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะครูชํานาญการให้อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ มีผลไม่ก่อนวันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ กรณีที่มีการพัฒนาไม่ว่าด้านใดก็ตาม ให้อนุมัติได้ ไม่ก่อนวันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับหนังสือที่ส่งรายละเอียดในการพัฒนาครบถ้วนสมบูรณ์ครั้งหลังสุด

7. เมื่ออ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาผลการประเมินและมีมติเป็นประการใดแล้วให้ถือเป็นอันสิ้นสุด

8. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้หมายความรวมถึง ส่วนราชการด้วย และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาให้หมายความรวมถึงอ.ก.ค.ศ. ที่ก.ค.ศ. ตั้งด้วย

วิธีการ

1. ให้ผู้ประสงค์ขอรับการประเมิน ยื่นคําขอได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง โดยส่งคําขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จํานวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับ ถึงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด)

กรณีผู้ที่จะเกษียณอายุราชการให้ยื่นคําขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จํานวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับ ถึงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

2. ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ. กําหนดและนําเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา

3. ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตั้งคณะกรรมการประเมิน ด้านที่ 1 คือด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 คือด้านความรู้ความสามารถ และด้านที่ 3 คือด้านผลการปฏิบัติงาน จํานวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อํานวยการสถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้นที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม จํานวน 1 คน และข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะครูชํานาญการ และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์สอดคล้องกับความรับผิดชอบของผู้ขอรับการประเมิน จํานวน 1 คน เป็นกรรมการ โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ

4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3
4.1 กรณีผลการประเมินด้านใดไม่ผ่านเกณฑ์และคณะกรรมการมีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้คณะกรรมการประเมินแจ้งสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

4.2 เมื่อผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว ให้สถานศึกษาส่งหนังสือแจ้ง รายละเอียดที่พัฒนาถึงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอคณะกรรมการชุดเดิมตรวจ
และประเมินต่อไป

4.3 กรณีที่คณะกรรมการประเมินพิจารณารายละเอียดที่พัฒนาแล้วเห็นควรให้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ให้
แจ้งสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

4.4 กรณีที่กรรมการประเมินคนเดิมไม่สามารถประเมินได้ด้วยเหตุผลใดก็ตามให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตั้งกรรมการแทนได้ ตามที่กําหนดในวิธีการข้อ 3

4.5 กรณีผู้ขอรับการประเมินไม่ส่งรายละเอียดการพัฒนาตามข้อสังเกตภายในเวลาที่กําหนด หรือส่งเกินเวลาที่กําหนดถือว่าสละสิทธิ์

4.6 กรณีผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว และมีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ.กําหนดถือว่าไม่ผ่านการประเมิน ให้เสนออ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาไม่อนุมัติ
และให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งผลการพิจารณาให้สถานศึกษา เพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ

4.7 กรณีผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ผ่านเกณฑที่ก.ค.ศ.กําหนด ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติ

5. การแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชํานาญการ กรณีอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามีมติอนุมัติให้ผู้มีอํานาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชํานาญการ และให้ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ. 2 สําหรับผู้ที่รับเงินเดือนต่ํากว่าขั้นต่ําของอันดับ คศ. 2 จะแต่งตั้งได้เมื่อรับเงินเดือนต่ํากว่าขั้นต่ําของอันดับ คศ. 2 ไม่เกิน 1 ขั้น และส่งสําเนาคําสั่ง จํานวน 1 ชุดให้สํานักงาน ก.ค.ศ. ภายในเวลา 7 วัน นับแต่วันออกคําสั่ง

6. ให้ดําเนินการประเมินให้แล้วเสร็จภายในรอบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคําขอและเอกสารผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) หากดําเนินการไม่แล้วเสร็จให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งสถานศึกษาเพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ และเร่งรัดการดําเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

แบบ ก.ค.ศ.1

แบบ ก.ค.ศ.2

แบบ ก.ค.ศ.3 

ขอบคุณแหล่งอ้างอิงให้ความรู้ 
https://sites.google.com/site/phathnakhruhn555/kheiyn-phaenkar-cadkar-reiyn-ru

http://wittayatana.blogspot.com/2014/01/blog-post.html