หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สายงานการสอน
(ตามหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.4/ว 17 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552)
หลักเกณฑ์
และวิธีการใหขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชํานาญการ
และวิธีการใหขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะครูชํานาญการ
หลักเกณฑ์
1. ผู้ขอมีวิทยฐานะครูชํานาญการ ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1.1 ดํารงตําแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปีสําหรับผู้ มีวุฒิปริญญาตรี
4 ปีสําหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท
และ2 ปีสําหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก นับถึงวันที่ยื่นคําขอ หรือดํารงตําแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า
1.2 มีภาระงานสอนไม่ต่ํากว่าภาระงานขั้นต่ําตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกําหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ.
1.3 ได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน นับถึงวันที่ยื่นคําขอ
2. ผู้ขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ พิจารณาจากข้อมูลของบุคคลและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ประวัติการรับราชการ (ก.พ.7)
ส่วนที่ 2 คํารบรองของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการสถานศึกษา
ส่วนที่ 3 เอกสารหลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างวินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ด้านที่ 2 ด้านความรู้ ความสามารถ พิจารณาจากการพัฒนางานในหน้าที่และการพัฒนาตนเอง ดังนี้
ส่วนที่ 1 การเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
พิจารณาจาก หลักสูตรแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/นวัตกรรม แฟ้มสะสมผลงานคัดสรร
ส่วนที่ 2 การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในสาขาหรือกลุ่มสาระที่รับผิดชอบหรือในงานที่รับผิดชอบ
พิจารณาจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการทดสอบความรู้จากหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการที่ ก.ค.ศ.ให้การรับรองการประมวลความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพและการนําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพ
ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน พิจารณาจาก ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานการสังเคราะห์ผลการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินและหรือการทดสอบของวิชาที่สอนในระดับเขตหรือระดับประเทศ และผลการพัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ โดยคํานึงถึงปริมาณ คุณภาพและสภาพของงานด้วย
3. การประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ให้คณะกรรมการประเมินจากเอกสารหลักฐานรวมทั้งการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา ส่วนด้านที่ 3 ให้ประเมินจากเอกสารหลักฐานที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอโดยอาจประเมินจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานศึกษา หรืออาจให้ผู้ขอรับการประเมินนําเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้ทั้งนี้ให้คณะกรรมการบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาในเรื่องที่ประเมินของผู้ขอรับการประเมินไว้ในแบบประเมินด้วย
4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 ให้มีคณะกรรมการประเมิน 3 คน ประเมินพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน และให้ดําเนินการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ได้รับคําขอจากสถานศึกษา
5. เกณฑ์การตัดสินผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินต้องได้คะแนนแต่ละด้าน ดังนี้
5.1 ด้านที่ 1 ด้านวินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 65
5.2 ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้ง 3 คนเฉลี่ยไม่ต่ํากว่าร้อยละ 65
5.3 ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 65
กรณีคณะกรรมการประเมินดานที่ 1 ด้านที่ 2 และดานที่ 3 มีความเห็นว่า ผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้พัฒนาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน
6. การพิจารณาอนุมัติผลการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะครูชํานาญการให้อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ มีผลไม่ก่อนวันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคําขอและเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ กรณีที่มีการพัฒนาไม่ว่าด้านใดก็ตาม ให้อนุมัติได้ ไม่ก่อนวันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับหนังสือที่ส่งรายละเอียดในการพัฒนาครบถ้วนสมบูรณ์ครั้งหลังสุด
7. เมื่ออ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาผลการประเมินและมีมติเป็นประการใดแล้วให้ถือเป็นอันสิ้นสุด
8. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้หมายความรวมถึง ส่วนราชการด้วย และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาให้หมายความรวมถึงอ.ก.ค.ศ. ที่ก.ค.ศ. ตั้งด้วย
วิธีการ
1. ให้ผู้ประสงค์ขอรับการประเมิน ยื่นคําขอได้ตลอดปี รอบปีละ 1 ครั้ง โดยส่งคําขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จํานวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับ ถึงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด)
กรณีผู้ที่จะเกษียณอายุราชการให้ยื่นคําขอพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) ซึ่งเป็นเอกสารผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จํานวน 4 ชุด ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเพื่อตรวจสอบและรับรองแล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลําดับ ถึงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
2. ให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงาน กศน.จังหวัด) ตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.ค.ศ. กําหนดและนําเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
3. ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตั้งคณะกรรมการประเมิน ด้านที่ 1 คือด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 คือด้านความรู้ความสามารถ และด้านที่ 3 คือด้านผลการปฏิบัติงาน จํานวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อํานวยการสถานศึกษาของผู้ขอรับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษานั้นที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม จํานวน 1 คน และข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ํากว่าวิทยฐานะครูชํานาญการ และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์สอดคล้องกับความรับผิดชอบของผู้ขอรับการประเมิน จํานวน 1 คน เป็นกรรมการ โดยให้ตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
4. การประเมินด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3
4.1 กรณีผลการประเมินด้านใดไม่ผ่านเกณฑ์และคณะกรรมการมีความเห็นว่าผลการประเมินอยู่ในวิสัยที่สามารถพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์ได้ ให้คณะกรรมการประเมินแจ้งสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
4.2 เมื่อผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว ให้สถานศึกษาส่งหนังสือแจ้ง รายละเอียดที่พัฒนาถึงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอคณะกรรมการชุดเดิมตรวจ
และประเมินต่อไป
4.3 กรณีที่คณะกรรมการประเมินพิจารณารายละเอียดที่พัฒนาแล้วเห็นควรให้มีการพัฒนาเพิ่มเติม ให้
แจ้งสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งสถานศึกษาภายในเวลา 15 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการประเมินแล้วเสร็จ ให้ผู้ขอรับการประเมินพัฒนาตามข้อสังเกตของคณะกรรมการภายในเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
4.4 กรณีที่กรรมการประเมินคนเดิมไม่สามารถประเมินได้ด้วยเหตุผลใดก็ตามให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตั้งกรรมการแทนได้ ตามที่กําหนดในวิธีการข้อ 3
4.5 กรณีผู้ขอรับการประเมินไม่ส่งรายละเอียดการพัฒนาตามข้อสังเกตภายในเวลาที่กําหนด หรือส่งเกินเวลาที่กําหนดถือว่าสละสิทธิ์
4.6 กรณีผู้ขอรับการประเมินได้พัฒนาแล้ว และมีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ.กําหนดถือว่าไม่ผ่านการประเมิน ให้เสนออ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาไม่อนุมัติ
และให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งผลการพิจารณาให้สถานศึกษา เพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ
4.7 กรณีผลการประเมินทั้ง 3 ด้าน ผ่านเกณฑที่ก.ค.ศ.กําหนด ให้เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติ
5. การแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชํานาญการ กรณีอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามีมติอนุมัติให้ผู้มีอํานาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้งให้มีวิทยฐานะครูชํานาญการ และให้ได้รับเงินเดือนอันดับ คศ. 2 สําหรับผู้ที่รับเงินเดือนต่ํากว่าขั้นต่ําของอันดับ คศ. 2 จะแต่งตั้งได้เมื่อรับเงินเดือนต่ํากว่าขั้นต่ําของอันดับ คศ. 2 ไม่เกิน 1 ขั้น และส่งสําเนาคําสั่ง จํานวน 1 ชุดให้สํานักงาน ก.ค.ศ. ภายในเวลา 7 วัน นับแต่วันออกคําสั่ง
6. ให้ดําเนินการประเมินให้แล้วเสร็จภายในรอบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับคําขอและเอกสารผลการปฏิบัติงาน (ด้านที่ 3) หากดําเนินการไม่แล้วเสร็จให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งสถานศึกษาเพื่อแจ้งผู้ขอรับการประเมินทราบ และเร่งรัดการดําเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แบบ ก.ค.ศ.1
แบบ ก.ค.ศ.2
แบบ ก.ค.ศ.3
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงให้ความรู้
https://sites.google.com/site/phathnakhruhn555/kheiyn-phaenkar-cadkar-reiyn-ru
http://wittayatana.blogspot.com/2014/01/blog-post.html