แผนการศึกษาแห่งชาติ
แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ –๒๕๗๙ เป็นแผนระยะยาว ๒๐ ปี
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา
บทที่ ๑ สภาวการณ์และบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ
บทที่ ๒ ผลการพัฒนาการศึกษาไทย ปี๒๕๕๒ – ๒๕๕๘
บทที่ ๓ ปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษา
บทที่ ๔ วิสัยทัศน์และเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ
บทที่ ๕ ยุทธศาสตร์เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาก าลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียม ทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
บทที่ ๖ การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ คณะผู้ดำเนินการจัดท า ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ความจำเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ
ความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution)
การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม ๔.๐ (The Fourth Industrial Revolution) การด าเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ๒๕๗๓ (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน รวมทั้ง ผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียน และ ความต้องการก าลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ประกอบกับแรงกดดันจากภายในประเทศจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้ ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ การติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางทัศนคติความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรม ของประชากรที่ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลให้ ทรัพยากรธรรมชาติถูกท าลายและเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว รวมทั้ง ระบบการศึกษาที่ยังมีปัญหาหลายประการ นับตั้งแต่ปัญหาคุณภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุก ระดับ จุดอ่อนของระบบการศึกษาและ การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีและ การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ยังไม่เหมาะสม ขาดความคล่องตัว ยังมีความเหลื่อมล้ าในด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้ง ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และการขาดความตระหนักถึงความส าคัญของการมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต และการมีจิตสาธารณะของคนไทยส่วนใหญ่ ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษา ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สนองและรองรับความท้าทาย ผลการพัฒนาการศึกษาในช่วงปี๒๕๕๒ - ๒๕๕๙ พบว่า ไทยประสบความส าเร็จใน หลายด้าน และมีอีกหลายด้านยังเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป ด้านโอกาสทางการศึกษา รัฐมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาค่อนข้างมาก ส่งผลให้ประชากรในวัยเรียน รวมทั้งเด็กด้อยโอกาสและผู้มีความต้องการจ าเป็นพิเศษมีโอกาสได้รับ การศึกษาสูงขึ้น แต่ยังเข้าเรียนได้ไม่ครบทุกคนและมีปัญหาการออกกลางคันอยู่บ้าง ด้านคุณภาพการศึกษา ผลการพัฒนายังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคะแนนต่ ากว่าค่าเฉลี่ยมาก และต่ ากว่าหลายประเทศใน แถบเอเชีย ส่วนประเด็นคุณธรรม จริยธรรมของเด็กและเยาวชนยังต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้คุณภาพของก าลังแรงงานอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดงาน
ด้านประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และการใช้จ่าย งบประมาณทางการศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบการจัดการที่ต้องได้รับการปรับปรุง เป็นล าดับแรก โดยเฉพาะการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กซึ่งมีอยู่จ านวนมาก
แนวคิดการจัดการศึกษา
แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติยึดหลักส าคัญ ในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) ยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SustainableDevelopment Goals : SDGs 2030) โดยน ายุทธศาสตร์ชาติ(National Strategy)มาเป็นกรอบความคิดส าคัญในการจัดท าแผนการ ศึกษาแห่งชาต
วิสัยทัศน์จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ
วิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ด ารงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ ๒๑”
โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ๔ ประการ คือ
๑) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
๒) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดีมีคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ
๓) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและ ร่วมมือผนึกก าลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ า ภายในประเทศลดลง
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษา แห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้๒ ด้าน คือ เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มี คุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
(3Rs8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและ คุณลักษณะต่อไปนี้
✥ 3Rs ได้แก่
การอ่านออก (Reading)
การเขียนได้(Writing)
และการคิดเลขเป็น (Arithmetics)
✥ 8Cs ได้แก่
ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ
ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้
ความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม
เป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations) ๕ ประการ
ซึ่งมีตัวชี้วัดเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ๕๓ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย เป้าหมายและตัวชี้วัดที่สำคัญ ดังนี้
๑) ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access)
๒) ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน อย่างเท่าเทียม (Equity)
๓) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถ เต็มตามศักยภาพ (Quality)
๔) ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่ คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency)
๕) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและ บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy)
๖ ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ๒๐ ปี
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติมีเป้าหมาย ดังนี้
๑.๑ คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑.๒ คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
๑.๓ คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิต รูปแบบใหม่
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การผลิตและพัฒนาก าลังคน การวิจัย และนวัตกรรรม เพื่อสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีเป้าหมาย ดังนี้
๒.๑ กำลังคนมีทักษะที่ส าคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของ ตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
๒.๒ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความ เชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน
๒.๓ การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเป้าหมาย ดังนี้ ๓.๑ ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่ จ าเป็นในศตวรรษที่ ๒๑
๓.๒ คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและ มาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
๓.๓ สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
๓.๔ แหล่งเรียนรู้ สื่อต าราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
๓.๕ ระบบและกลไกการวัด การติดตาม และประเมินผลมีประสิทธิภาพ
๓.๖ ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดับสากล
๓.๗ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา มีเป้าหมาย ดังนี้ ๔.๑ ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
๔.๒ การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
๔.๓ ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมิน และรายงานผล
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมาย ดังนี้ ๕.๑ คนทุกช่วงวัย มีจิตส านึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และน าแนวคิดตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
๕.๒ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการน าแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การปฏิบัติ
๕.๓ การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา มีเป้าหมายดังนี้
๖.๑ โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัวชัดเจน และ สามารถตรวจสอบได้
๖.๒ ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษา
๖.๓ ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของ ประชาชนและพื้นที่
๖.๔ กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับลักษณะที่ แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการก าลังแรงงานของประเทศ
๖.๕ ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัต
ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ สู่การปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยส าคัญหลายประการ ประกอบด้วย
สาระของแผนการศึกษาแห่งชาติที่มีความชัดเจน ครบถ้วน และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และทุกระดับการศึกษา
การมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแผนการศึกษาแห่งชาติของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณชน การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ แก่ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนเพื่อสร้างความตระหนักในความส าคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ
การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติและ
การน าแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนแก่ผู้ปฏิบัติทุกระดับ เพื่อให้ทุกภาคส่วน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติ
แนวทางการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัต
ประกอบด้วย
๑) การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความส าคัญและพร้อมเข้าร่วมในการ ผลักดันแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ การสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานองค์กร และภาคีทุกภาคส่วน ถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ แผนการศึกษาแห่งชาติ
๒) การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ยุทธศาสตร์ ชาติระยะ ๒๐ ปีนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาการศึกษาระยะ ๕ ปีแผนปฏิบัติราชการระยะ ๔ ปี และแผนปฏิบัติการประจ าปีของหน่วยงาน โดยส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องร่วมจัดท าและติดตามประเมินผลแผนดังกล่าว
๓) การปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกฎหมายต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาใน ระดับต่าง ๆ
และ ๔) การสร้างช่องทางให้ประชาสังคมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา อย่างกว้างขวาง ทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที